วันพฤหัสบดีที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2557

การทดลองที่ 5.3 การต่อวงจรสวิตช์ควบคุมด้วยแสง

การทดลองที่ 5.3
การต่อวงจรสวิตช์ควบคุมด้วยแสง

วัตถุประสงค์

 -  ฝึกต่อวงจรโดยใช้อุปกรณ์สวิตช์ควบคุมด้วยแสง (Opto-Interrupter) เช่น เบอร์ H21A1
 -  ประยุกต์ใช้งานอุปกรณ์ชนิดนี้ร่วมกับบอร์ด Arduino

รายการอุปกรณ์

 -  แผงต่อวงจร (เบรดบอร์ด)                                                    1 อัน
 -  อุปกรณ์สวิตช์ควบคุมด้วยแสง H21A1 หรือ TCST2202      1 ตัว
 -  ไดโอดเปล่งแสงสีแดงหรือสีเขียว                                        1 ตัว
 -  ตัวต้านทาน 220Ω                                                                1 ตัว    
 -  ตัวต้านทาน 330Ω หรือ 470Ω                                              1 ตัว
 -  ตัวต้านทาน 10kΩ                                                                1 ตัว
 -  บัซเซอร์แบบเปียโซ (Piezo Buzzer)                                    1 ตัว *
 -  สายไฟสำหรับต่อวงจร                                                         1 ชุด
 -  มัลติมิเตอร์                                                                           1 เครื่อง

ขั้นตอนการทดลอง

    1. ต่อวงจรบนเบรดบอร์ดตามรูปที่ 5.3.1 โดยใช้แรงดันไฟเลี้ยง +5V และ GND จากบอร์ด Arduino
    2. เขียนโค้ด Arduino เพื่อรับค่าอินพุตแบบดิจิทัลที่ขา D3 (จากสัญญาณ Vout ของวงจรบนเบรด
บอร์ด) แล้วสร้างสัญญาณเอาต์พุตที่ขา D5 เพื่อแสดงค่าของอินพุตที่รับโดยใช้ LED เป็นตัวแสดง
สถานะทางลอจิก (ถ้าไม่มีวัตถุมาปิดกั้นช่องรับแสง LED จะต้องไม่ติด)
    3. ใช้กระดาษสีดำปิดกั้น (หรือวัตถุอื่น เช่น ไม้บรรทัดเหล็ก) บริเวณช่องรับแสงของอุปกรณ์สวิตช์
ควบคุมด้วยแสง สังเกตความแตกต่างระหว่างกรณีที่มีวัตถุปิดกั้นและไม่มี (เช่น ใช้มัลติมิเตอร์วัด
แรงดัน Vout)
    4. ทดลองต่อบัซเซอร์แบบเปียโซ (สร้างเสียงเตือน) แทนวงจร LED ในวงจรบนเบรดบอร์ด (โดยนำไปต่ออนุกรมกับตัวต้านทานขนาด 330Ω และให้สังเกตว่า บัซเซอร์แบบเปียโซมีขาบวกและขาลบ)
    5. แก้ไขโค้ด Arduino เพื่อนับเวลาตั้งแต่เริ่มนำกระดาษไปปิดกั้นจนถึงเมื่อนำกระดาษออกในแต่ละครั้งโดยวัดช่วงเวลาเป็นหน่วยมิลลิวินาที (msec) และให้แสดงผลออกทางพอร์ตอนุกรมผ่านทาง Serial
Monitor ของ Arduino IDE (ให้ศึกษาการใช้คำสั่ง millis() สำหรับการเขียนโค้ด Arduino)
    6. เขียนรายงานการทดลอง ซึ่งประกอบด้วยคำอธิบายการทดลองตามขั้นตอน ผังวงจรที่ถูกต้อง
ครบถ้วนตามหลักไฟฟ้า (ให้วาดด้วยโปรแกรม Cadsoft Eagle) รูปถ่ายของการต่อวงจรบน
เบรดบอร์ด และตอบคำถามท้ายการทดลอง



รูปที่ 5.3.1: ผังวงจรสำหรับต่อวงจรทดลอง

คำถามท้ายการทดลอง

    1. จากการทดลองพบว่า จะวัดแรงดัน Vout ได้เท่ากับ  0.102 v โวลต์ เมื่อไม่มีวัตถุไปปิดกั้นช่องรับแสงของอุปกรณ์ H21A1 และจะวัด Vout ได้เท่ากับ  4.949 v  โวลต์ เมื่อมีวัตถุไปปิดกั้นช่องรับแสงของอุปกรณ์ดังกล่าว
    2. ถ้านำกระดาษสีขาวและกระดาษสีดำ ไปปิดกั้นช่องรับแสง ในแต่ละกรณี จะให้ผลการทำงานของ
วงจรที่แตกต่างกันหรือไม่ จงอธิบาย
         -  ต่างกัน










การทดลองที่ 5.1 การต่อวงจรไดโอดเปล่งแสงอินฟราเรดและโฟโต้ทรานซิสเตอร์

การทดลองที่ 5.1
การต่อวงจรไดโอดเปล่งแสงอินฟราเรดและโฟโต้ทรานซิสเตอร์

วัตถุประสงค์

 -  ฝึกต่อวงจรโดยใช้ไดโอดเปล่งแสงอินฟราเรดและโฟโต้ทรานซิสเตอร์ เพื่อใช้เป็นตัวส่งแสงและตัวรับ
แสงตามลำดับ
 -  หาความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณแสงสะท้อนกลับ และระดับของแรงดันเอาต์พุตจากวงจร

รายการอุปกรณ์

 -  แผงต่อวงจร (เบรดบอร์ด)                                                   1 อัน
 -  ไดโอดเปล่งแสงอินฟราเรด                                                1 ตัว
 -  โฟโต้ทรานซิสเตอร์                                                            1 ตัว
 -  ตัวต้านทาน 220Ω                                                               1 ตัว
 -  ตัวต้านทาน 10kΩ                                                               1 ตัว
 -  ตัวเก็บประจุแบบ Electrolytic 1uF (มีขั้ว)                            1 ตัว
 -  สายไฟสำหรับต่อวงจร                                                        1 ชุด
 -  มัลติมิเตอร์                                                                          1 เครื่อง
 -  แหล่งจ่ายแรงดันควบคุม                                                     1 เครื่อง
 -  ออสซิลโลสโคปแบบดิจิทัล                                                1 เครื่อง

ขั้นตอนการทดลอง

    1. ต่อวงจรบนเบรดบอร์ด ตามผังวงจรในรูปที่ 5.1.1 (ให้ไดโอดเปล่งแสงอินฟราเรดและโฟโต้
ทรานซิสเตอร์ อยู่ห่างกันประมาณ 1 cm) แล้วป้อนแรงดันไฟเลี้ยง VCC=+5V และ Gnd
จากแหล่งจ่ายแรงดันควบคุม ไปยังวงจรบนเบรดบอร์ด
    2. วัดแรงดันตกคร่อมที่ขาทั้งสองของไดโอดเปล่งแสงอินฟราเรด และวัดปริมาณกระแสที่ไหล (mA)
แล้วจดบันทึกค่าที่ได้ (สำหรับรายงานการทดลอง)
    3. ใช้ออสซิลโลสโคปวัดแรงดัน Vout แล้วบันทึกภาพของรูปคลื่นสัญญาณที่ปรากฏ
    4. ทดลองต่อและไม่ต่อตัวเก็บประจุ สังเกตความแตกต่างของรูปคลื่นสัญญาณ Vout ในแต่ละกรณี
    5. นำแผ่นกระดาษสีขาว มาอยู่เหนือ ไดโอดเปล่งแสงอินฟราเรดและโฟโต้ทรานซิสเตอร์ ที่ระยะห่าง
0.5 cm, 1 cm, 5 cm, และ 10 cm ตามลำดับ ใช้มัลติมิเตอร์วัดแรงดัน Vout สำหรับระยะห่าง
ดังกล่าว แล้วจดบันทึกค่าที่ได้ในแต่ละกรณี
    6. นำแผ่นกระดาษสีดำ มาอยู่เหนือ ไดโอดเปล่งแสงอินฟราเรดและโฟโต้ทรานซิสเตอร์ ที่ระยะห่าง
0.5 cm, 1 cm, 5 cm, และ 10 cm ตามลำดับ ใช้มัลติมิเตอร์วัดแรงดัน Vout สำหรับระยะห่าง
ดังกล่าว แล้วจดบันทึกค่าที่ได้ในแต่ละกรณี
    7. ต่อวงจรตามผังวงจรในรูปที่ 5.1.2 แล้วเปรียบเทียบความแตกต่างกับวงจรในรูปที่ 5.1.1
(เช่น ดูการเปลี่ยนแปลงของแรงดัน Vout)
    8. เขียนรายงานการทดลอง ซึ่งประกอบด้วย คำอธิบายการทดลองตามขั้นตอน ผังวงจรที่ถูกต้อง
ครบถ้วนตามหลักไฟฟ้า (ให้วาดด้วยโปรแกรม Cadsoft Eagle) รูปถ่ายของการต่อวงจรบน
เบรดบอร์ด รูปคลื่นสัญญาณที่วัดได้จากออสซิลโลสโคปตามโจทย์การทดลอง และตอบคำถาม
ท้ายการทดลอง
รูปที่ 5.1.1: ผังวงจรสำหรับต่อวงจร (แบบที่ 1)

รูปที่ 5.1.2: ผังวงจรสำหรับต่อวงจร (แบบที่ 2)


คำถามท้ายการทดลอง

1. จากการทดลองพบว่า จะมีกระแสไหลผ่านไดโอดเปล่งแสงอินฟราเรด  16.14   mA และ
วัดแรงดันตกคร่อมได้เท่ากับ   1.182   โวลต์
2. เมื่อทดลองโดยใช้กระดาษสีขาว สำหรับวงจรแบบที่ 1 จะได้แรงดัน Vout อยู่ในช่วง 0.152 - 3.292 v
(ค่าต่ำสุด-สูงสุด) และจะได้แรงดัน Vout อยู่ในช่วง   1.545 - 3.328 v (ค่าต่ำสุด-สูงสุด) สำหรับวงจรแบบที่ 2
3. เมื่อทดลองโดยใช้กระดาษสีดำ สำหรับวงจรแบบที่ 1 จะได้แรงดัน Vout อยู่ในช่วง  1.875 - 3.768 v
(ค่าต่ำสุด-สูงสุด) และจะได้แรงดัน Vout อยู่ในช่วง   0.297 - 0.910 v  (ค่าต่ำสุด-สูงสุด) สำหรับวงจรแบบที่ 2
4. ที่ระยะห่างเท่ากัน การทดลองด้วยวัตถุสีขาวและวัตถุสีดำ จะให้ผลแตกต่างกันหรือไม่ เมื่อวัดแรงดัน
Vout ของวงจร จงอธิบาย
5. การต่อตัวเก็บประจุคร่อมที่ Vout กับ Gnd มีผลต่อรูปคลื่นสัญญาณเอาต์พุตหรือไม่ จงอธิบาย
6. ในการทดลอง แสงสว่างจากหลอดไฟในอาคาร มีผลต่อสัญญาณ Vout หรือไม่ จงอธิบาย


แบบที่ 1







แบบที่ไม่มีตัวเก็บประจุ



กระดาษขาว





กระดาษดำ





แบบที่ 2






แบบที่ไม่มีตัวเก็บประจุ



กระดาษขาว





กระดาษดำ






แบบที่มีตัวเก็บประจุ



แบบที่ไม่มีตัวเก็บประจุ