วันพฤหัสบดีที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2557

การทดลองที่ 3.4 การสร้างสัญญาณเอาต์พุตตามจังหวะสัญญาณอินพุตด้วย Arduino

การทดลองที่ 3.4
การสร้างสัญญาณเอาต์พุตตามจังหวะสัญญาณอินพุตด้วย Arduino

วัตถุประสงค์

   - สร้างสัญญาณจากเครื่องกำเนิดสัญญาณดิจิทัลแบบมีคาบ เพื่อป้อนเป็นอินพุตให้บอร์ด Arduino
   - เขียนโค้ดสำหรับ Arduino เพื่อประมวลผลสัญญาณดิจิทัลจากอินพุต และสร้างสัญญาณเอาต์พุต
ตามเงื่อนไขที่กำหนดให้

รายการอุปกรณ์

   - แผงต่อวงจร (เบรดบอร์ด)                             1 อัน
   - บอร์ด Arduino (ใช้แรงดัน +5V)                    1 บอร์ด
   - ตัวต้านทาน 100Ω หรือ 150Ω                       1 ตัว
   - ตัวต้านทาน 330Ω หรือ 470Ω                       1 ตัว
   - ไดโอดเปล่งแสงขนาด 5 มม.                        1 ตัว
   - สายไฟสำหรับต่อวงจร                                  1 ชุด
   - เครื่องกำเนิดสัญญาณดิจิทัล                         1 เครื่อง
   - ออสซิลโลสโคป                                           1 เครื่อง

ขั้นตอนการทดลอง

   1. สร้างสัญญาณดิจิทัลแบบมีคาบ (แรงดันในช่วง 0V และ 5V เท่านั้น ห้ามใช้แรงดันสูงกว่า หรือแรง            ดันเป็นลบ) มีรูปคลื่นสี่เหลี่ยม หรือแบบ Pulse (Duty Cycle=50%) มีความถี่ 10Hz จากเครื่องกำเนิด
       สัญญาณ โดยต่อผ่านตัวต้านทาน 100Ω หรือ 150Ω ไปยังขา D3 ของบอร์ด Arduino เพื่อใช้เป็น
       อินพุต
   2. ต่อวงจร LED พร้อมตัวต้านทานจำกัดกระแส ที่ขา D5 ของบอร์ด Arduino เพื่อใช้แสดงสถานะ
   3. เขียนโค้ด Arduino Sketch เพื่อทำให้หลอด LED บนแผงวงจร กระพริบตามความถี่ของสัญญาณ
       อินพุต (อัตราการกระพริบของ LED จะต้องสอดคล้องกับความถี่ของสัญญาณอินพุต)
   4. ปรับความถี่ของสัญญาณอินพุตในช่วง 5Hz .. 20Hz (เพิ่มทีละ 5Hz) และใช้ออสซิลโลสโคป 2 ช่อง
       วัดสัญญาณอินพุตที่ขา D3 และสัญญาณเอาต์พุตที่ขา D5 พร้อมกัน และบันทึกรูปคลื่นสัญญาณที่          ได้สำหรับความถี่ต่างๆ ในการทดลอง
   5. เขียนรายงานการทดลอง (เขียนโจทย์ แนวทางการทำโจทย์ ผังวงจรโดยรวมซึ่งใช้โปรแกรม Eagle
       ในการวาด และโค้ด Arduino Sketch พร้อมคำอธิบายโค้ด รูปตัวอย่างที่ได้จาการวัดสัญญาณ และ
       ภาพถ่ายการต่อทดลองวงจรจริง) จัดทำเป็นไฟล์ .PDF ขนาด A4 ส่งในระบบ e-Learning ของ
       ภาควิชา









กราฟแสดงความสัมพันธ์ของแรงดัน ระหว่าง INPUT และ OUTPUT

     5 Hz


     10 Hz



     15 Hz



     20 Hz




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น