วันพฤหัสบดีที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2557

วงจรแลตช์ (Latch)

วงจรแลตช์ (Latch)

เป็นกลุ่มของวงจร D F/F ที่ทำหน้าที่เก็บสภาวะโลจิกไว้สำหรับติดต่อกับภายนอก วงจร Latch มีหลายเบอร์เช่น 74LS373, 74LS374, 74LS377
Latch.jpg
แสดงตารางค่าความจริง และวงจรของ วงจรแล็ช (Latch)
(ก) สัญลักษณ์ของวงจร
(ข) ตารางความจริง

อาร์เอสแลตช์ (RS latch)

อาร์เอสแลตช์ (RS Latch) เป็นวงจรลำดับเบื้องต้น มีลักษณะเป็นแลตซ์ที่มีสามอินพุตคือ R (รีเซต:Reset) S (เซ็ต:set) และ enable แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด
  • นอร์แลตช์ (nor latch)
  • แนนด์แลตช์ (nand latch)

นอร์แลตช์ (NOR Gate Latch)

เป็น SR Latch ที่ทำจาก NOR gate ขาอินพุต S คือ Set ส่วนขาอินพุต R คือขา Reset และมีเอาต์พุต 2 เอาต์พุต คือ Q และ ดังแสดงในวงจร
Latch2.jpg
Latch3.jpg
อธิบายการทำงานจากตารางความจริง
1. ในขณะที่ Q และ มีสถานะเดิมเป็นอะไรก็ได้ เมื่อให้ S=1 และ R=0 จะทำให้ Q=1และ =0 ทันที ในขณะเดียวกันถ้าเปลี่ยนให้ S=0 และ R ยังเป็น 0 เหมือนเดิม เอาต์พุตยังคงเหมือนไม่เปลี่ยนแปลง คือ Q=1 และ =0 นั่นคือการเก็บข้อมูลเดิม (Store) นั่นเอง และอินพุทที่ทำให้ Q=1 ก็คือ S=1 และ R=0 สถานะนี้เรียกว่าสถานะ SET
การ SET คือการทำให้ Q=1
2. ในขณะที่ Q และ มีสถานะเดิมเป็นอะไรก็ได้ เมื่อให้ S=0 และ R=1 จะทำให้ Q=0 และ =1 ทันที ในขณะเดียวกันถ้าเปลี่ยนให้ R=0 และ S ยังเป็น 0 เหมือนเดิม เอาต์พุตยังคงเหมือนไม่เปลี่ยนแปลง คือ Q=0 และ =1 นั่นคือการเก็บข้อมูลเดิม (Store) นั่นเอง และอินพุทที่ทำให้ Q=0 ก็คือ S=0 และ R=1 สถานะนี้เรียกว่าสถานะ RESET
การ RESET คือการทำให้ Q=0
3. ในขณะที่ Q และ มีสถานะเดิมเป็นอะไรก็ได้ เมื่อให้ S=1 และ R=1 จะทำให้ Q=0 และ =0 ทันที สถานะดังกล่าวไม่ใช่คุณสมบัติของ ฟลิบฟลอบ ดังกล่าวมาแล้ว (ฟลิบฟลอบมีมีค่าลอจิกเอาต์พุตตรงข้ามกัน) สถานะนี้จึงเป็นสถานะที่ไม่พึงประสงค์ หรือห้ามใช้
Latch4.jpg

แนนด์แลตซ์ (NAND Gate Latch)

Latch5.jpg

ดีแลตช์

ดีแลตช์ (D Latch) เป็นแลตช์ที่ทำงานเลียนแบบดีฟลิปฟล็อป ซึ่งได้ใช้น้อย เพราะการทำงานแบบแลตช์จะทำให้บันทึกค่านานเกินไป Latch6.jpg

   BY   
         http://th.wikipedia.org/wiki/แลตช์_(อิเล็กทรอนิกส์)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น